ระเบียบและกฏหมาย
พระราชบัญญัต
เอกสารประเมินบุคคล
รายงานประจำป
คู่มือต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ
Link Web ที่น่าสนใจ
กรุงเทพมหานคร
หนังสือเวียนกรุงเทพมหานคร
กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
แพทยสภา
สภาการพยาบาล
WHO Thailand
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
กรมบัญชีกลาง
ไทยฮอตไลน์
มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
Bangkok GIS
 
โรคเบล้าท์ (Blount Disease)

          เคยไหมบ้างไหมว่า เด็กที่อ้วนมากๆ เวลาเดินจะคล้ายๆ กับคิงคอง คือ เดินโยกซ้าย โยกขวา มองลงไปที่ขาจะเห็นขาโก่ง ปลายเท้าชิดกัน แต่ช่องระหว่างเขากว้างออก ลักษณะอย่างนี้เป็นเพราะเด็กอ้วนต้นขาใหญ่จนยืนขาชิดกันไม่ได้ หรือว่าขาโก่งจริงๆ

          วันนี้มีสาระความรู้ดีๆ ที่จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ ที่มีน้ำหนักมากๆ หรือที่เรียกว่า โรคเบล้าท์ (Blount Disease) กัน

เพราะอะไร? ทำไมขาโก่ง
          ขาเด็กปกติช่วงอายุ 2-3 ปีแรก จะมีลักษณะโก่งตามวัยอยู่แล้ว และยิ่งเด้กอ้วนจะมองเห็นความโก่งนี้ชัดเจนมากขึ้นไปอีก การโก่งตามวัยเป็นการเปลี่ยนแปลงแนวกระดุกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ละช่วงอายุจะมีแบบแผน คือช่วงปีสองปีแรกจะโก่งแบบที่ส่วนเข่าห่างออกจากัน ต่อมาหลังจากอายุ 2 ปี เข่าจะกลับมาชิดกัน เมื่อเด็กอายุ 7 ปี เข่าจะตรงลักษณะเหมือนกับผู้ใหญ่ เนื่องจากการดก่งแบบนี้เป็นผลที่เกิดจากพัฒนาการทางธรรมชาติ
          ดังนั้น เข่าทั้งสองข้างจะมีการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กัน นั่นคือเข่าทั้ง 2 ข้างจะโก่งเท่าๆ กัน หากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าขาของลูกโก่งเพียงข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนใหญ่มักมีปัญหาที่เกิดขึ้นที่ขาข้างนั้นแล้ว

          "โรคเบล้าท์" เป็นโรคหนึ่งที่ทำให้ขาโก่งได้ ส่วนใหญ่ขาจะโก่งขาเดียว ซึ่งการโก่งมักเห็นชัดและสามารถวินิจฉัยได้แน่นอน เพราะโรคนี้พบมากในเด้กช่วงอายุ 3-5 ปี ในเด็กที่อายุน้อยกว่านี้ หากสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ อาจตรวจเช็คได้โดยการเอกซเรย์วัดมุมของกระดูกหน้าแข้งว่า มีความเสี่ยงต่อโรคนี้หรือไม่ หากมีความเสี่ยงอาจจับตามองเป็นพิเศษ และอาจจะต้องได้รับการเอกซเรย์เป็นระยะ เพื่อหาทางรักษาอย่างถูกวิธีและให้ทันถ่วงที หากพบว่า เป็นโรคเบล้าท์จริงๆ จะเห็นได้จากภาพเอกซเรย์ว่าเกิดความผิดปกติของกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งความผิดปกตินี้เป็นผลมาจากการที่กระดูกอ่อนส่วนนี้เจริญเติบโตผิดปกติ

น้ำหนักสัมพันธ์กับขาโก่ง
          
เด็กๆ ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่เป็นเด็กอ้วน เชื่อว่าน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดแรงกระทำต่อเซลล์กระดูกอ่อนหน้าแข้งที่เคยงอกยาวออกมาเป็นกระดูกที่เจริญผิดปกติ ในช่วงแรงหากหากสามารถลดแรงที่มากระทำต่อกระดูกอ่อนลง อาจทำให้กระดูกอ่อนกลับมาเจริญตามปกติได้ ส่วนสาเหตุอื่นๆ อาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์และเพศของเด็ก เนื่องจากพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
          ถึงตอนนี้ คุณพ่อคุณแม่คงสงสัยแล้วว่า เด็กอ้วนแค่ไหนที่จะเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้ ซึ่งเป็นคำถามที่น่าสนใจมากและยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน สำหรับเด็กแล้ว การจะบอกว่าเด็กคนหนึ่งอ้วนเกินพิกัดหรือไม่ จะต้องพิจารณาโดยนำส่วนสูงและน้ำหนักของเด็กคนนั้น มาคำนวณดูว่า ดัชนีมวลกายมากกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 95 ของเด็กในวัยเดียวกันหรือไม่ ฟังแล้วอาจจะดูซับซ้อนเกินไป ที่จะมานั่งคำนวณค่าดังกล่าว เอาเป็นว่าหากเห็นลูกหลานของเราอ้วนมากและขามีลักษณะโก่ง ก็ต้องระวังการเกิดโรคนี้ และต้องรีบปรึกษาแพทย์

           เมื่อเป็นโรคนี้ การโก่งของขาข้างที่เป็นจะมีการหักมุมอย่างชัดเจนในส่วนต้นของกระดูกหน้าแข้ง ต่างจากการโก่งของขาตามพัฒนาการ ซึ่งจะโก่งเป็นแนวโค้งเรียบกันไป ทั้งกระดูกส่วนต้นและกระดูกหน้าแข้ง ที่เป็นเช่นนี้เพราะความผิดปกติของโรคเบล้าท์เกิดขึ้นที่กระดูกหน้าแข้งเพียงจุดเดียวนั่นเอง การโก่งนี้จะค่อยเป็นค่อยไป หากไม่ได้รับการรักษาจะโก่งขึ้นเรื่อยๆ
          เนื่องจากแรงกดที่กระดูกอ่อนเกิดขึ้นที่ใกล้ครึ่งแกนกลางของกระดูกอ่อน ส่วนด้านข้างของกระดูกอ่อนยังเจริญเติบโตได้ตามปกติ เมื่อปล่อยไว้นานๆ กระดูกที่ผิวข้อจะผิดรูป ดูจากภาพเอกซเรย์ผิวข้อจะเปลี่ยนจากแนวตรง กลายเป็นมุมคล้ายหลังคาหน้าจั่ว ซึ่งกระดูกส่วนนี้ประกอบขึ้นเป็นข้อเข่า เอ็นเข่า ด้านข้างจะค่อยๆ ยืดออก เวลาเดินจะมีลักษณะเข่าหลวมทางด้านข้าง เด็กที่เป็นโรคนี้ ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องความโก่งเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีอาการเจ็บเข่า ในคนที่โก่งมาก อาจมีเข่าโก่งได้มากถึง 45 องศา เนื่องจากปกติ ผิวข้อของเราต้องมีการกระจายแรงอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งผิวข้อ เมื่อขาโก่งมากขนาดนี้น้ำหนักตัวจะถ่ายมาทางด้านในของเข่าค่อนข้างมาก ผิวข้อด้านในจะมีโอกาสสึกหรอได้เร็ว และจะทำให้ปวดข้อจากข้อเสื่อมได้

รักษาด้วยการผ่า

          โรคนี้รักษาโดยการผ่าตัด แต่การผ่าตัดมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะของโรค และลักษณะความผิดปกติที่เกิดขึ้น การผ่าตัดระยะแรกในช่วงที่อาการยังไม่รุนแรงจะได้ผลดี หากผ่าตัดก่อนอายุ 5 ปี ในช่วงอายุนี้ เมื่อเข่าได้รับการแก้ไขให้ตรงแล้ว จะลดแรงกดทางด้านใกล้แกนกลางของกระดูก อาจทำให้กระดูกอ่อนกลับมาเจริญเป็นปกติได้อีก หากผ่าตัดเมื่ออายุมากกว่านี้ มีโอกาสจะเกิดขาโก่งซ้ำหลังการรักษา เนื่องจากกระดูกอ่อนหยุดการเจริญเติบโตอย่างถาวร เหมือนกับการรักษาโรคในเด็กทั่วไป การรักษาในอายุที่มากขึ้นทำได้ยาก นอกจากต้องผ่าแก้ความผิดรูปของข้อแล้ว ยังเป็นการยากที่จะทำให้เอ็นซึ่งยืดออกไปแล้วกลับมากระชับอีก

             

          อย่างไรนั้น เมื่อคุณพ่อคุณแม่อ่านถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า ความอ้วนเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดโรคนี้ และความอ้วนก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรคอื่นๆ อีกหลายโรค การป้องกันไม่ให้เด็กอ้วนเกินไป จะเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันโรคนี้ได้ หากเห็นเด็กอ้วนมีขาโก่งเพียงข้างเดียว และโก่งมากขึ้นเรื่อยๆ ควรรีบพาไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจดูอาการ หากเป็นโรคนี้จริงจะได้เตรียมการรักษาไว้แต่เนิ่นๆ อีกทั้งการใส่รองเท้าดัดขาต่างๆ ได้ผลไม่แน่นอนและเป็นวิธีที่ไม่แนะนำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Produce by Medical Service Department

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เลขที่ 514          ถนนหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100          โทร. 0-2224-2954 , 0-2224-9711 , 0-2221-6020 , 0-2225-4966          โทรสาร 0-2226-1931 , 0-2221-6029

ติดต่อ Webmaster : webmaster@msdbangkok.go.th